เรียนรู้เรื่องสารเคมีจากข่าว : สารเอทิลีนออกไซด์
29 พฤษภาคม 2566

จากข่าวกรณีต่างประเทศเรียกคืนไอศกรีมอาเก้น-ดาส( linkข่าว : https://oryor.com/media/newsUpdate/media_news/2318) และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปซีดาพ (linkข่าว: https://oryor.com/media/newsUpdate/media_news/2345) เนื่องจากพบการปนเปื้อนสารเอทิลีนออกไซด์ในผลิตภัณฑ์ บทความนี้ชวนมารู้จัก สารเอทิลีนออกไซด์มากขึ้น

สารเอทิลีนออกไซด์ ที่อุณหภูมิห้องอยู่ในรูปแก็สไม่มีสี ติดไฟได้ มีกลิ่นหวาน นิยมใช้เป็นสารตัวกลางในการผลิตสารเอทิลีนไกลคอล นอกจากนี้ยังใช้เป็นสารจัดศัตรูพืช และสารฆ่าเชื้อโรคในอาหารพวกเครื่องเทศ เมล็ดถั่ว และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ไม่สามารถถูกความร้อนได้

อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้เอทิลีนออกไซด์ เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ห้ามไม่ให้มีการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง

ทั้งนี้มีรายงานว่าการได้รับเอทิลีนออกไซด์สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) และมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) นอกจากนี้ หน่วยงาน International Agency for Research on Cancer (IARC) ยืนยันว่า สารเอทิลีนออกไซด์เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ (Group 1)


ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับสารเอทิลีนออกไซด์

กันยายน 2020 : สหภาพยุโรปแจ้งเตือนว่าพบการปนเปื้อนเอทิลีนออกไซด์ในเมล็ดงาที่นำเข้ามาจากประเทศอินเดีย

สิงหาคม 2022 : ประเทศฝรั่งเศสร้องเรียนว่า พบสาร2-คลอโรเอทานอล ซึ่งเป็นสารประกอบชองเอทิลีนออกไซด์ The European Union Rapid Alerts Systems for Food and Feed แจ้งเตือนประเทศต่างๆว่าพบสารเอทิลีนออกไซด์ปนเปื้อนในไอศกรีม Haagen-Dazs ทำให้หลายประเทศในยุโรปและเอเชียออกประกาศเรียกคืนสินค้า

ตุลาคม 2022 : Singapore Food Agency (SFA) สำรวจพบว่า บะหมี่สำเร็จรูป Mie Sedaap Korean Spicy Soup และ Korean Spicy Chicken ปนเปื้อนสารเอทิลีนออกไซด์

ท่านสามารถติดตามข่าวสารความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ที่ (link https://oryor.com/media/newsUpdate)